the devil wears prada นางมารสวมปราด้า

สารบัญ

“The Devil Wears Prada” ชื่อไทย: นางมารสวมปราด้า ปี 2006/2549 เป็นภาพยนตร์แนวตลก-ดราม่าที่สร้างจากนวนิยายของ Lauren Weisberger บอกเล่าเรื่องราวของ แอนดี้ (แอนน์ แฮททาเวย์) เด็กจบใหม่ที่ได้งานเป็นผู้ช่วยของ มิแรนด้า พรีสท์ลี่ (เมอรีล สตรีป) หัวหน้าบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นชั้นนำในประเทศ

ในฐานะคนดูที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องความเป็นแฟชั่นหรือเรื่องผู้หยิ๊งผู้หญิง ทำให้เมินหนังเรื่องนี้มาตลอด 17 ปี แต่ก็มักจะได้อ่านคำวิจารณ์ในเชิงบวกมาตลอด ก็เลยลองเปิดดูใน Disney+ และ พบว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ทั้งความบันเทิงพร้อมการแสดงที่ยอดเยี่ยมของตัวละคร แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของอุตสาหกรรมแฟชั่นและโลกการทำงานท่ามกลางความเครียดสูงส่ง ที่ต้องทำงานกับเจ้านายที่เอาแต่ใจและดูเหมือนไม่เคยพอใจ

การแสดงของ “เมอริล สตรีป”

แสดงได้อย่างโดดเด่นในบท “มิแรนดา พรีสต์ลี” ที่มีบุคลิกที่น่าเกรงขาม แต่ความน่าเกรงขามไม่ใช่ความเกี้ยวกราด แต่ความเยือกเย็นและคำพูดที่เฉือดเฉือนต่างหาก ทำเอาชนิดคนทำงานด้วยกันไม่อยากเดินสวนกับเธอเลย! ส่วนการแสดงของ “แอนน์ แฮทธาเวย์” ในบท “แอนเดรีย แซคส์”ก็เล่นได้สไตล์เด็กจบใหม่ผู้ไร้ประสบการณ์ แต่มีทะเยอทะยานอยู่ในตัว มาเรียนรู้ความยากลำบากเกี่ยวกับการเสียสละบางอย่าง เพื่อที่จะไขว่คว้าความสำเร็จในและความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง

นอกจากการแสดงที่ชอบ แต่อีกสิ่งนึงที่ทำให้หนังไม่มีช่วงน่าเบื่อก็คือ การเจาะลึกถึงความสัมพันธ์ในเรื่องของอำนาจระหว่างหัวหน้าและพนักงานของพวกเขา “มิแรนดา พรีสต์ลี” เป็นเจ้านายที่น่าเกรงขามและเคารพพอๆ กัน และเหล่าๆ พนักงานของเธอต้องพยายามอย่างมากที่ต้องทำถึงตามมาตรฐานที่เข้มงวดของเธอ แสดงให้เห็นผลกระทบที่ส่งผลต่อพนักงาน และความยากในการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานท่ามกลางความกดดันสูงเช่นนี้

มนุษย์เงินเดือนทำงานออฟฟิศอาจเจอเจ้านายแบบ “มิแรนดา พรีสลี” ในชีวิตจริง คิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเตือนใจเกี่ยวกับการเสียสละบางอย่างเพื่อผลของการไขว่คว้าความสำเร็จ แม้ว่ามันจะอาจจะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมการทำงานที่กดดันแบบนั้น แต่อีกมุมก็แสดงให้เห็นว่า การประสบความสำเร็จนั้นต้องแลกมาด้วยราคาที่อาจประเมินค่าไม่ได้ในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนตัวและสุขภาพจิต สิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์เงินเดือนคือ การจัดลำดับความสำคัญของความเป็นอยู่ เข้าใจถึงวัฒนธรรมในที่ทำงานนั้นๆ ก่อนที่จะตอบรับข้อเสนอเข้าทำงาน เพราะเหนื่อยก็แค่ “ลาออก” นั้น บางทีมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เหมือนดั่งที่ “ไนเจล” สอน “แอนดี้” ในหนังนั่นแหละครับ

สรุปแล้วในความคิดแบบผู้ชายๆ ที่ดูหนังแนวผู้หญิงๆ อย่าง “The Devil Wears Prada” เป็นภาพยนตร์ที่มีบางสิ่งบางอย่างที่อาจพบเจอได้ในหลายๆ คน แม้ว่าจะไม่มีความคุ้นเคยกับอุตสาหกรรมแฟชั่นก็ตาม เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาอย่างดี คุ้มค่ากับเวลาในการดู เราจะได้เห็นโลกของผู้บริหารที่มีอำนาจสูงและผู้คนที่ทำงานให้กับเจ้านายงี่เง่า ยิ่งถ้ามีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บริหารมาก่อนหรือทำอยู่ รับรองได้ว่าจะมีความอินกับ “แอนดี้” ไม่มากก็น้อยเลยล่ะครับ

เนื้อเรื่องโดยย่อ

เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวชีวิตของเด็กสาวคนหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก ” แอนเดรีย แซก ” ที่ต้องมาทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยจูเนียร์ของมิแรนด้า พริสต์ลี่ย์ บ.ก.บริหารนิตยสาร รันเวย์ นิตยสารแฟชั่นแนวหน้าของโลก ( แต่แอนเดรียกลับไม่มีหัวด้านแฟชั่นหรือการแต่งตัวแม้แต่น้อย! ) ซึ่งแอนเดรียตั้งใจไว้ว่าจะใช้ช่วงเวลาการทำงานใน ” รันเวย์ ” แค่ปีเดียว เพื่อจะเป็นใบเบิกทางสู่หนังสือพิมพ์ ” นิวยอร์กเกอร์ ” ที่เธอใฝ่ฝันไว้ว่าจะได้เป็นนักเขียนที่นั้น แต่เธอกลับคิดผิดเพราะเวลาไม่ถึงปีที่เธอได้อยู่ในรันเวย์นี้ ทำให้เธอต้องทนทุกข์กับเจ้านายที่ร้ายซะยิ่งกว่านางมาร! ช่วงแรกเป็นช่วงเวลาที่แอนเดรียต้องปรับตัวให้เข้ากับงานที่เธอได้รับ ซึ่งเธอต้องทนกับการทำงานหนักเยี่ยงทาสให้กับเจ้านายจอมโหด ทุกวันต้องตื้นแต่เช้าเพื่อมาถึงที่ทำงานเป็นคนแรก , วิ่งไปซื้อกาแฟที่สตาบัคส์ภายในเวลาสิบนาที วันละ 4 รอบ , คอยเอาเสื้อผ้าของมิแรนด้าไปส่งซัก และรับกลับไปส่งที่บ้าน , อยู่ถึงดึกดื่นเพื่อเอาต้นฉบับของนิตยสารไปส่งให้มิแรนด้า , จดโน้ตตารางเรียนและการบ้านของคู่แฝด ( ลูกสาวของมิแรนด้า )ทุกๆวัน , พาหมาของมิแรนด้าไปตรวจสุขภาพ จนไปถึงการส่งหนังสือข้ามทวีปไปให้ทันกำหนด ! ฯลฯ

แถมต้องทนฟังเสียงบ่นเสียงนินทาของบรรดาพนักงานสาวส้นเกือกทั้งหลายเรื่อง ” การแต่งตัวห่วยแตก ” ของเธอ แต่แอนเดรียก็มุ่งมั่นที่จะไปสนใจ และไม่เคยพยายามเปิดใจให้กับวงการแฟชั่น (ทั้งๆที่เธอต้องทำงานกับมัน) ร่วมถึงไม่เคยแม้แต่ศรัทธราให้ตัวของเจ้านายเธอเองด้วย เพราะแอนเดรียคิดเพียงแค่ว่าจะต้องทนผ่านชั่วเวลาการโครกสับอันแสนทรหดนี้ไปให้ได้ เพื่อความฝันของเธอที่นิวยอร์กเกอร์เท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป แอนเดรียก็เริ่มปรับตัวเข้ากับที่ทำงานได้ แต่การทำงานที่รันเวย์ก็เริ่มทำให้ ” ตัวตน ” ของแอนเดรียเปลี่ยนไปเช่นกัน เธอเริ่มเปิดใจกว้างและหันมาแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบรมด์เนม ” อย่างที่สาวรันเวย์ควรทำ ” เพื่อให้มิแรนด้าพอใจ แต่สิ่งที่แย่ก็คือเธอทุ่มเทให้กับงาน( และความฝัน )ของเธอมากจนเกินไป หลายครั้งที่งานของเธอทำให้เธอไม่มีเวลาให้กับบุคคลรอบข้าง และยังสร้างปัญหาให้กับเธออีกมากมาย จนทำให้เธอตัดขาดจากครอบครัว เพื่อนฝูงและคนรักไปอย่างไม่รู้ตัวในที่สุด สุดท้ายแอนเดรียเลยตัดสินใจทิ้งงานที่รันเวย์เพื่อกลับไปหาความสุขจากครอบครัวเหมือนอย่างเดิมในที่สุด ” ไปตายซะ มิแรนด้า ! ” คือประโยคสุดท้ายที่แอนเดรียพูดกับเจ้านายจอมโหดของเธอก่อนจะถูกไล่ออก ( อย่างเต็มใจ ) เพื่อกลับไปหาชีวิตแบบเก่าของเธอ ชีวิตที่ไม่ต้องเป็นทาสใคร….